การปฐมพยาบาลทางใจ
การปฐมพยาบาลทางใจ หรือ Psychological First Aid : PFA เป็นทักษะการปฏิบัติเบื้องต้นที่คนทั่วไปสามารถนำไปใช้กับผู้ที่ประสบเหตุการณ์วิกฤตได้ ดังนี้
สิ่งที่ควรทำ
๑. ใช้น้ำเสียง ท่าทางแสดงความเป็นมิตร แสดงถึงความอบอุ่นเข้าใจ
๒. ใช้การฟังอย่างตั้งใจ แสดงความเข้าใจอดทนฟัง หากเขายังเล่าเรื่องเดิมซ้ำๆ
๓. ยอมรับปฏิกิริยา ทางอารมณ์ที่รุนแรงของผู้ประสบภาวะวิกฤต
๔. เป็นตัวแทน ในการติดต่อ
๕. ให้ความช่วยเหลือ ตามความเป็นจริงอย่างเหมาะสม หรือตามความต้องการ
๖. ทำความเข้าใจ และยอมรับวัฒนธรรม ความเชื่อ ภาษาที่แตกต่าง
๗. ปฏิบัติกับเด็กด้วยความจริงใจเท่าเทียม มีศักดิ์ศรีเทียบเท่ากับผู้ใหญ่
๘. ให้ข้อมูล ว่าอารมณ์ต่างๆที่เอ่อท้วมท้นอาจคงอยู่ไประยะหนึ่ง
สิ่งที่ไม่ควรทำ
๑. แสดง ความเป็นผู้เชี่ยวชาญ
๒. ใช้คำพูดไม่เหมาะสม เช่น “เวลารักษาบาดแผลทุกอย่าง” “มันจะผ่านไปในไม่ช้า” เป็นต้น
๓. แสดงความเห็นอกเห็นใจโดยมีอารมณ์ร่วม ไปกับผู้ประสบภาวะวิกฤต เช่น ร้องไห้
๔. สัญญา ในสิ่งที่ไม่แน่ใจว่าจะทำให้ได้
๕. ตีตรา ว่าผู้ประสบภาวะวิกฤตมีอาการทางจิต
๖. ซักถามให้เล่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
๗. แยกสมาชิกครอบครัวออกจากกัน
๘. การสื่อสารทางลบ
ด้วยความปรารถนาจาก: แผนกส่งเสริมสุขภาพ กองเวชศาสตร์ป้องกัน กรมแพทย์ทหารอากาศ โทร ๐ ๒๕๓๔ ๖๐๗๗
ที่มา : กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
ผู้ลงข้อมูล : จ.ท.หญิง วรรณิศา หนุนดี จนท.ทสส.พอ. โทร 2-0008